top of page

แนวปฏิบัติองค์กรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติกในประเทศไทย

Updated: Apr 3, 2022

ส่งขยะพลาสติกกลับบ้าน

Send Plastic Home


Send Plastic Home เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วงเม.ย. 63 พร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจเดลิเวอรี่ที่ตอบสนองชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งการสั่งอาหารหรือสั่งสินค้าแต่ละครั้งทำให้เกิดขยะพลาสติกจำนวนมาก Thailand Responsible Business Network ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจากปัญหานี้ จึงได้ก่อตั้งโครงการนี้ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ของการขับเคลื่อนในเรื่องสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีหลายภาคีให้การสนับสนุนทั้งในการช่วยประชาสัมพันธ์รณรงค์และเปิดพื้นที่เป็นจุดรับสร้าง ecosystem โดยเชื่อมจากผู้บริโภค แล้วไล่ไปตามระบบด้วยการขนส่งเพื่อนำเข้าไปสู่องค์กรจัดการขยะ แล้วทำการรีไซเคิลเพื่อให้พลาสติกได้ย้อนกลับมาที่ผู้บริโภคใหม่


โดยโครงการของเราจะเป็นจุดเชื่อมการติดต่อระหว่างคนที่อยากแยกขยะพลาสติกกับจุดรับ โดยจุดรับทางโครงการจะดำเนินการเองทั้งหมด ตั้งแต่ผลิตถัง ตั้งจุดรับ ใส่ถุงเขียนสถานที่และน้าหนักให้ผู้รับ และดูแลความสะอาด ในปัจจุบันจุดรับของเราจะรับทั้ง

1.พลาสติกยืด - เข้าสู่ระบบรีไซเคิลโดยโครงการวน(บริษัทTPBI) และนำไปผลิตเป็นถุง/ถุงขยะ

2.พลาสติกแข็ง - เข้าสู่ระบบรีไซเคิลโดยบริษัท TARFจะนำไปแยกชนิดอย่างละเอียดอีกรอบและจึงส่งต่อให้บริษัทรีไซเคิลอื่นๆ

3.ขยะกำพร้า - ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ จะส่งเผาอย่างถูกวิธีเพื่อทำพลังงาน



แหล่งที่มา: Send Plastic Home Facebook


ในปัจจุบันมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ รับดำเนินโครงการส่งพลาสติกกลับบ้านต่อจาก Thailand Responsible Business Network ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานSEC (The Office of the Securities and Exchange Commission) โดยโครงการเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกครบวงจร สร้างโมเดลและ ผลักดัน circular economy ร่วมกับภาคีภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนการตั้ง จุดรับพลาสติกและการประชาสัมพันธ์เรื่องการแยกขยะพลาสติก ตัวอย่างเช่น GDH Promote



ช่องทางการติดต่อ


 

WON


โครงการ “วน” เกิดจากกลุ่มคนในเครือ บมจ.TPBI ที่มีความสนใจร่วมกันในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างสร้างสรรค์ โดยการนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้ามาใช้ โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ และพลังงาน ให้ถูกนำกลับมาเป็นทรัพยากรหมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม แทนการทิ้งไปเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน ช่วยลดผลกระทบจากการดึงเอาทรัพยากรใหม่มาใช้งานเพิ่มขึ้น


โครงการ “วน” เน้นการให้ความรู้ เสนอแนะวิธีการคัดแยกพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง และรับเอาพลาสติกชนิดอ่อน (ถุงและฟิล์มพลาสติก) ประเภท HDPE/LDPE ที่แห้ง สะอาด ยืดได้ กลับมา Recycle หรือ Upcycle เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อสร้างมูลค่า และทำให้พลาสติกเหล่านี้หมุน “วน” เป็นวงจรอย่างต่อเนื่องตามหลัก Circular Economy ไม่ให้พลาสติกรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือจบลงที่บ่อขยะ



ช่องทางการติดต่อ


 

N15 Technology


จุดเริ่มต้นมาจากการที่ สมบูรณ์ กิตติอนงค์ ได้ช่วยงานโครงการ Go Green Road ของ SCG Chemical ที่ร่วมกับ DOW Chemical และ CP All ซึ่งเอาถุงพลาสติกไปหลอมรวมกับยางมะตอยเพื่อทำถนนจากพลาสติกรีไซเคิล ได้เห็นว่าสิ่งที่เขาต้องการคือขยะพลาสติกที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก คือต้องการพลาสติกเชื้อเดียว ซึ่งคนที่ตั้งใจแยกละเอียดขนาดนั้นหาได้ยาก หรือต่อให้ตั้งใจแยกแล้วก็ยังคงแยกถูกแยกผิด แม้จะมีหลายที่ที่ต้องการเอาพลาสติกพวกนี้ไปรีไซเคิลก็ทำได้ยาก เพราะเมืองไทยไม่ได้มีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ผมเลยขอเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับคนที่ไม่สามารถคัดแยกขยะได้ละเอียด ด้วยหวังเป็นตัวช่วยในการจัดการขยะที่รีไซเคิลไม่ได้และไร้หนทางไปต่อ ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่ดี ขยะพลาสติกเหล่านี้จะยังคงอยู่ร่วมโลกกับเราไปอีกหลายร้อยปี โดยที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทุกวัน


วิธีการของพวกเขาคือเปิดจุดรับส่งแบบไดรฟ์ทรู , ส่งทางไปรษณีย์ ขยะกำพร้าเหล่านี้เมื่อถูกส่งไปยัง N15 จะถูกคัดแยกอีกครั้งเพื่อแยกวัสดุเผาไม่ได้ที่อาจหลุดติดเข้ามาออกด้วยระบบลม จากนั้นนำเข้าเครื่องบดย่อยเพื่อแปรสภาพขยะให้เหลือขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วส่งต่อไปเป็นเชื้อเพลิงที่เตาเผาของโรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดสระบุรี



แหล่งที่มา: Plus Thairath


N15 Technology เป็นธุรกิจบริหารจัดการของเสีย เขาได้เล็งเห็นถึงปัญหาและต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขมันโดยยังมีผู้สนับสนุนจากบริษัทอื่นๆ อาทิเช่น Bangchak ,เดอะ สตรีท รัชดา , กระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนเรื่องสถานที่ เพื่อเป็นจุดรวบรวมขยะ ทีมงานจิตอาสา สนับสนุนเรื่องกำลังคน ไปรษณีย์ไทย, Speed-D, 7-11 สนับสนุนเรื่องส่วนลดค่าจัดส่งขยะมายัง N15 Technology และอีกหลายๆบริษัทที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่มาเป็นแรงสนับสนุนทำให้โครงการดำเนินต่อไปได้



ช่องทางการติดต่อ

Facebook


45 views0 comments
bottom of page